โบราณสถานในค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี

frt007
ชื่อแหล่งท่องเที่ยว
โบราณสถานในค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี
สถานที่ตั้ง
ถนนท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว

hap03100552p2

    ค่ายตากสินจันทบุรี เป็นสถานที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ กองพลนาวิกโยธิน อยู่ที่บริเวณบ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี เมืองจันทบุรี
โบราณที่บ้านลุ่ม มีความสำคัญ อย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ไทย

     เมื่อครั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงยกทัพมาตีเมืองจันทบุรีแล้วยึดเป็นที่ตั้งมั่นในการ
เตรียมการ กู้ชาติหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ใน ร.ศ. ๑๑๒ หรือปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสซึ่งพยายามขยายอำนาจเข้าไปในลาวและเขมรได้ใช้กำลังบังคับและยื่นคำขาด
ให้ไทย ยกดินแดง ของลาวทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงกับเขมรส่วนนอก ซึ่งเคเป็นประเทศราชของไทยให้กับฝรั่งเศส ในระหว่างที่รอยคอยให้สัญญาต่าง ๆ มีผลบังใช้ ฝรั่งเศสได้ทำการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน จนถึง ปี พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสซึ่งพยายามขยายอำนาจเข้าไปในลาวและเขมร ได้ใช้กำลังบังคับและยื่นคำขาด
ให้ไทยยกดินแดนของลาวทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงกับเขมรส่วนนอก ซึ่งเคยเป็นประเทศราชของไทย
ให้กับฝรั่งเศส ในระหว่างที่รอคอยให้สัญญาต่าง ๆมีผลบังคับใช้ ฝรั่งเศสได้ทำการยึดเมืองจันทบุรีไว้
เป็นประกันจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เพื่อเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาข้อ ๖ ซึ่งต่อท้ายหนังสือสัญญา
ระหว่าง กรุงฝรั่งเศส วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) แต่เหตุผลที่เลือกยึดเมือง จันทบุรีก็เพราะ เป็นเมืองที่สำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ เป็นจุดที่ควบคุมอ่าวสยามที่ติดต่อกับแหลมมลายูของอังกฤษ
เป็นทางผ่านเข้าไปยังสามจังหวัดของไทยที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ บ่อพลอย บ่อไพลิน ในเขตเมืองพระตะบองเสียมราฐ และศรีโสภณ นอกจากนั้นเมืองจันทบุรียังมีท่าเทียบ เรือที่ปากแม่น้ำและ มีอู่ต่อเรือระวางตั้งแต่ ๓๐๐-๔๐๐ ต้น การยึดจันทบุรี จึงเท่ากับยึดท่าเรืออู่ต่อเรือ และ
เรืออื่นๆ ไว้เป็นการตัดกำลังไทยทางอ้อมด้วย กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งถ่ายทหารขึ้นภายในบริเวณบ้านลุ่ม
หรือบริเวณที่เป็นค่ายตากสินในปัจจุบันและที่ปากน้ำแหลมสิงห์ รวมทั้งได้สร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายหลัง

     ปัจจุบันหลักฐานร่องรอยต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองจันทบุรีที่บ้านลุ่มยังคงปรากฏให้เห็น
อยู่ภายในบริเวณค่ายตากสินเท่านั้น อาคารฝรั่งเศสที่สร้างขึ้นได้แก่ อาคารกองรักษาการณ์ อาคารตอน ซ่อมบำรุงและสรรพาวุธ อาคารพัสดุ อาคารคลังแสงหมายเลข ๕ ซึ่งแต่เดิมคงเป็นคลังกระสุนดินดำ เนื่องจากทำใต้ถุนโปร่งและมีช่องระบายลมอยู่ทั่วไป และอาคารคลังแสงหมายเลข ๗ ซึ่งมีแผนผังคล้าย กับตึกแดง ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ ซึ่งฝรั่งเศสได้สร้างขึ้นเช่นกัน ภายหลักจากที่ทหารฝรั่งเศสถอนออกจาก
เมืองจันทบุรี เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ บริเวณค่ายทหารที่ในบริเวณค่ายตากสินได้มีการใช้งาน สืบต่อมาดังนี้

  • พ.ศ. ๒๔๗๒           เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประชาบาล และบ้านพักของข้าราชการฝ่ายปกครอง
  • พ.ศ. ๒๔๗๙           เป็นที่ตั้งของกองทหารม้า ม.พัน ๔
  • พ.ศ. ๒๔๘๘           เป็นที่ตั้งของพัน. นย.๓ (กองพันทหารราบนาวิกโยธินที่ ๓)
  • พ.ศ. ๒๔๙๗           เป็นที่ตั้งกองป้องกันพิเศษ จันทบุรี
  • พ.ศ. ๒๔๙๘           ทางราชการได้สั่งขยายกำลังกองป้องกันพิเศษจากกำลัง ๑ กองร้อย เป็น ๑ กองพัน ชื่อว่าพัน. ร.๒ นย.

     ต่อมาได้แปรสภาพเป็นกองทัพทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ กรมผสมนาวิกโยธิน เมื่อ
๑ สิงหาคม ๒๕๒๑ และ ในปัจจุบันได้แปรสภาพเป็นกองทัพทหารราบที่ ๒ กรามทหารราบที่ ๑
กองพลนาวิกโยธิน  หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ตั้งแต่ ๑ เมษายน ๒๕๓๒

     กลุ่มอาคารโบราณสถานที่ สร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองจันทบุรี ได้รับการบูรณะปรับปรุง
และ ใช้งานมาตลอด แต่การบูรณะที่ผ่าน ๆ มา ทำได้ในวงจำกัด เนื่องจากขาดงบประมาณและความ
รอบรู้ในการบูรณะโบราณสถาน ทำให้อาคารต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก อาคารเหล่านี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ยังหลงเหลืออยุ่จากสมัยที่มีการล่าอาณานิคม ซึ่งการเสียดินแดนให้แก่ประเทศมหาอำนาจผู้แสดงหาเมืองขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การยอมเสียบางส่วนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการอยู่รอดของชาติไทยทั้งหมด ย่อมนับว่าเป็นผลดีแก่ชาติและการที่เป็นไปได้

     ดังนั้น ก็เนื่องมาจากพระปรีชาญาณในด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสโนบายของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเราทั้งหมดต้องตกเป็นอาณานิคมของ
ประเทศมหาอำนาจ เพราะการดำเนินนโยบายที่แตกต่างกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕

     มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมและกรมศิลปากรได้ร่วมกันสำรวจเพื่อทำแผนบูรณะ ซึ่งผลของการสำรวจในครั้งนั้นพบปัญหาดังนี้

  1. ปัญหาความชื้นทำให้ผังอาคารแตกร้าว และปูนฉาบหลุด การรั่วซึมของหลังคาเนื่องจากวัสดุที่ใช้หมดสภาพ
  2. ปัญหาโครงสร้างทรุดตัว
  3. กรอบและบานประตูส่วนใหญ่หมดสภาพ ผุพังและบางส่วนถูกเปลี่ยนสภาพเป็นรูปแบบใหม่ซึ่งไม่สอดคล้องกับยุคสมัยของอาคาร

     ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือและกรมศิลปากรได้มีแนวคิดร่วมกันในการจัดโครงการบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ และได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานที่ปรึกษาของมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม เสด็จมาเปิดโครงการฯ ณ ค่ายตากสินอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑

map-1